Tuesday, February 9, 2021

(ตอนที่ 1) สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

หนังสือ : Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

ผู้แต่ง : จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Image for post
ปกหนังสือ Money 101

สั่งซื้อได้ที่ SE-ED

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. คนเรามักจะต้องเจอจุดเปลี่ยนของชีวิตที่ทำให้เราต้องเข้าสู่โลกการเงิน — ส่วนใหญ่ก็คือเราทุกคนต้องเจอปัญหาทางการเงินนั่นเอง
  2. ปัญหาเรื่องเงินไม่ได้แก้ด้วยเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ต้องใช้ความรู้ทางการเงินด้วย
  3. เรื่องการเงินเป็น “ทักษะชีวิต” ที่สำคัญ เพราะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต — ทั้งชีวิตเราและคนในครอบครัว
  4. ให้ตั้งเป้าหมายชีวิตก่อนตั้งเป้าหมายทางการเงิน

4.1 ตั้งเป้าหมายชีวิต เพื่อรู้ว่าเราต้องการอะไร

4.2 ตั้งเป้าหมายการเงิน เพื่อรู้ว่าสิ่งที่เราต้องการนั้นต้องการใช้เงินสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน

4.3 เรียนรู้และลงมือทำ เพื่อให้รู้ว่าเราจะต้องรู้อะไร และจะต้องทำอะไรบ้าง

5. สองคำศัพท์สำคัญในโลกการเงิน คือ “สภาพคล่อง” และ “ความมั่งคั่ง

5.1 สภาพคล่อง คือ มีกิน มีใช้ มีเหลือเก็บ

5.2 ความมั่งคั่ง คือ สภาพคล่องที่สะสมในทรัพย์สินรูปแบบต่าง ๆ

6. โจทย์แรกในเรื่องการเงิน คือ บริหารสภาพคล่องในแต่ละเดือนให้เป็นบวก

7. สมการการเงินเปลี่ยน Mindset (กรอบความคิด) คือ

รายได้ — เงินออม =เงินสำหรับใช้จ่าย

คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า รายได้ หักค่าใช้จ่าย เหลือแล้วค่อยออม ซึ่งในความเป็นจริงมันมักจะไม่เหลือ

8. เทคนิคการออมเงิน

8.1 หักออมก่อนใช้จ่ายแบบอัตโนมัติ — ตัดบัญชีอัตโนมัติเป็นประจำทุกเดือน

8.2 ออมแบบเก็บเล็กผสมน้อย เช่น สะสมเศษเหรียญ หรือ แบงค์ 50 ที่ได้รับมา

8.3 ออมด้วยการหักภาษีฟุ่มเฟือย เช่น หักเงิน 10% ของราคากาแฟ 150 บาท ทุกครั้งที่เราซื้อกาแฟ จะช่วยให้เราใช้จ่ายอย่างมีสติมากขึ้น

9. งบการเงินส่วนบุคคล เป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกความแข็งแรงทางการเงินของเรา ประกอบด้วย

9.1 งบรายรับ-รายจ่าย จะช่วยบอกสภาพคล่องของเรา ทำได้ด้วยการบันทึกข้อมูลรายรับ เงินออม รายจ่าย และเงินคงเหลือ ในแต่ละเดือน

9.2 งบแดงสถานะการเงิน คือ การบันทึกข้อมูลรายการทรัพย์สิน และ หนี้สินทั้งหมดที่มี ควรจะทำปีละครั้ง

10 ตัวเลขทางการเงินที่ควรตรวจสอบ (ตรวจสุขภาพทางการเงิน)

10.1 ร้อยละของการออม = (เงินออมและลงทุนรายเดือนx100)/รายได้รวมทั้งเดือน — ตัวเลขนี้ควรจะไม่น้อยกว่า 10%

10.2 ร้อยละของหนี้สินที่ต้องชำระ = (เงินผ่อนชำระหนี้รายเดือนx100/รายได้รวมทั้งเดือน) — ตัวนี้นี้ควรจะไม่เกิน 50%

10.3 ความมั่งคั่ง = ทรัพย์สินรวม-หนี้สินรวม — ตัวเลขนี้ควรจะเป็นบวก

No comments:

Post a Comment