Wednesday, February 17, 2021

สรุป การขอตำแหน่งทางวิชาการ ตอนที่ 2

 วิธีปกติ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์

(1) คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง

- ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี

(2) ผลการสอน

- มีผลประเมินการสอน แต่ต้องมีความชำนาญพิเศษในการสอน

(3) ผลงานทางวิชาการ

มี 3 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 (เน้นตำรา) ผลงานระดับ (B+) โดยมีตำราหรือหนังสือ 1 เล่ม + งานวิจัย 1 เรื่อง + ผลงานในทางเลือกต่อไปนี้

[1] งานวิจัยอีก 1 เรื่อง

[2] ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ หรือ

[3] ผลงานวิชาการรับใช้สังคม 1 เรื่อง

วิธีที่ 2 (เน้นงานวิจัย) งานวิจัย 2 เรื่อง* คุณภาพระดับ (A) + ผลงานในทางเลือกต่อไปนี้ คุณภาพระดับ (B+)

[1] งานวิจัยอีก 1 เรื่อง

[2] ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น 1 เรื่อง

[3] ผลงานวิชาการรับใช้สังคม 1 เรื่อง

*งานวิจัยต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ ฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 และต้องเป็น First/Corresponding author

วิธีที่ 3 (ผลงานเป็นที่ประจักษ์) สำหรับสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ต้องแสดงหลักฐานต่อไปนี้

1) งานิจัยอย่างน้อย 10 เรื่อง อยู่ในฐานข้อมูล Scopus (Q1 / Q2) เผยแพร่หลังได้รับตำแหน่ง ผศ. และมีอย่างน้อย 5 เรื่องต้องเป็น First/Corresponding author และ

2) มีงานวิจัยได้รับการอ้างอิงจาก Scopus (Life-time citation) อย่างน้อย 500 รายการ โดยไม่นับงานวิจัยที่อ้างอิงตนเอง และ

3) มีค่า Life-time h-index (Scopus) ไม่น้อยกว่า 8 และ

4) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ที่ได้รับทุนจากแหล่งทุนภายนอก อย่างน้อย 5 โครงการ (Life-time)

หากขอด้วยวิธีที่ 3 สภาสถาบันพิจารณาอนุมัติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ

(4) จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ

เหมือนตำแหน่ง ผศ.

Monday, February 15, 2021

สรุป การขอตำแหน่งทางวิชาการ ตามเกณฑ์ ก.พ.อ. พ.ศ. 2563 - ตอนที่ 1

สรุป ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ พ.ศ. 2563
ในตอนนี้จะสรุปเฉพาะเกณฑ์สำหรับการขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วยวิธีปกติ
1. การแต่งตั้งพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบ
1.1 คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง คือ ระยะเวลาในการทำงานในตำแหน่ง
1.2 ผลการสอน คือ ผลการประเมินการสอน
1.3 ผลงานทางวิชาการ เช่น งานวิจัย หนังสือ ตำรา หรือผลงานทางวิชาการประเภทอื่น ๆ
1.4 จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ คือ ผลการประเมินจริยธรรมฯ จากคณะกรรมการฯ
2. การแต่งตั้งมี 2 วิธี
2.1 วิธีปกติ
2.2 วิธีพิเศษ - ใช้สำหรับการขอตำแหน่งโดยคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ เช่น ดำรงตำแหน่งอาจารย์ไม่ครบระยะเวลาตามเกณฑ์ในวิธีปกติ ซึ่งวิธีพิเศษจะมีเกณฑ์การพิจารณาที่เข้มข้นกว่าวิธีปกติ
3. วิธีปกติ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
(1) คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
- วุฒิ ป.ตรี ดำรงตำแหน่งอาจารย์และทำการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
- วุฒิ ป.โท ดำรงตำแหน่งอาจารย์และทำการสอนไม่น้อยกว่า 4 ปี
- วุฒิ ป.เอก ดำรงตำแหน่งอาจารย์และทำการสอนไม่น้อยกว่า 1 ปี
(2) ผลการสอน
- ผ่านการประเมินการสอน (มีความชำนาญในการสอน) จากคณะกรรมการฯ
(3) ผลงานทางวิชาการ
- ผลงานมีคุณภาพระดับ (B) โดย
- งานวิจัย 1 เรื่อง* + ทางเลือก 4 กรณี
[1] งานวิจัยอีก 1 เรื่อง หรือ
[2] ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ หรือ
[3] ผลงานวิชาการรับใช้สังคม 1 เรื่อง หรือ
[4] ตำราหรือหนังสือ 1 เล่ม
* ต้องเป็นงานวิจัยที่ผู้ขอเป็น First author / Corresponding author และต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา/ประกาศนียบัตร
(4) จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
[1] มีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
[2] ต้องอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้
[3] ต้องไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
[4] ผลงานต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการ ปราศจากอคติ และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
[5] ต้องนำผลงานทางวิชาการไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
[6] หากมีการใช้ข้อมูลจากการทำวิจัยในคนหรือสัตว์ จะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันที่มีการดำเนินการ

Saturday, February 13, 2021

(ตอนที่ 5 - จบ) สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

  ความเดิมตอนที่แล้ว:

(ตอนที่ 4) สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

 ความเดิมตอนที่แล้ว:



หน้าปกหนังสือ Money 101

สั่งซื้อได้ที่ SE-ED


31. ควรวางแผนเกษียณตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงาน
32. การวางแผนเกษียณให้ตอบคำถามสำคัญ 3 ข้อ
32.1 รูปแบบชีวิตหลังเกษียณที่อยากได้เป็นอย่างไร ต้องใช้เงินเท่าไหร่
32.2 แหล่งรายได้หลังเกษียณของเรามาจากไหนบ้าง
32.3 ส่วนที่ขาดที่ต้องเก็บสะสมเพิ่มมีเท่าใด
33. ถ้าต้องการเกษียณเร็ว และ ลดความเสี่ยง ต้องมีรายได้หลายทาง
34. ไอเดียเริ่มต้นสำหรับการสร้างอาชีพเสริม 3 แนวทาง
34.1 สร้างสินค้าขึ้นมาขาย
34.2 สร้างบริการขึ้นมา
34.3 สร้างทรัพย์สินทางปัญญา
35. เรียนรู้การใช้พลังทวี (Leverage) เพื่อเร่งความเร็วในการสร้างความมั่งคั่ง
35.1 การลงทุนโดยใช้เงินคนอื่น (Other People's Money: OPM) เช่น การทำธุรกิจ โดยกู้เงินมาลงทุน หรือ หาหุ้นส่วน
35.2 การทำธุรกิจโดยการใช้ทรัพยากรของคนอื่น (Other People's Resource: OPR) เช่น การตัดงานบางส่วนให้คนอื่นทำ
36. สะสมทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด (เหมือนพิมพ์เงินใช้เอง) เช่น
36.1 มีเงินก้อนมากพอ ให้ซื้อพันธบัตร / กองทุนรวม / หุ้นปันผล
36.2 ใช้พลังทวีของเงินกู้ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้เช่า
36.3 สร้างธุรกิจ วางระบบ แล้ววางมือให้คนอื่นมาทำ
36.4 สร้างงานที่เป็นลิขสิทธิ์
37. จงสร้างทรัพย์สิน ก่อนซื้อหนี้สิน
38. อยากเกษียณเร็ว ต้องมีรายได้จากทรัพย์สิน มากกว่า รายจ่ายรวมต่อเดือน คือ มีอิสระทางการเงิน
39. โฟกัสที่การสร้างทรัพย์สินเพิ่ม อย่ามัวแต่โฟกัสที่การหารายได้เพิ่ม สร้างทรัพย์สินเพื่อสร้างกระแสเงินสด แล้วนำกระแสเงินสดไปสร้างทรัพย์สินเพิ่ม (Re-invest) เพื่อให้พอร์ตการลงทุนเติบโต
40. สรุปแผนการเงิน 3 แบบ
40.1 แผน A เกษียณเร็ว : สร้างธุรกิจ/ทรัพย์สิน => กระแสเงินสด => re-invest
40.2 แผน B เกษียณรวย : เก็บออม ทยอยสร้างทุนเกษียณ
40.3 แผน C เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน : เก็บเงินเพื่อมีสภาพคล่องสำรอง 6-12 เดือน

Thursday, February 11, 2021

(ตอนที่ 3) สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

 ความเดิมตอนที่แล้ว:



หน้าปกหนังสือ Money 101

สั่งซื้อได้ที่ SE-ED

21. เมื่อมีรายได้ต้องยื่นภาษี ซึ่งตามกฎหมายแบ่งรายได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่

21.1 เงินเดือน/โบนัส

21.2 ค่าจ้างทั่วไป

21.3 ค่าลิขสิทธิ์

21.4 ดอกเบี้ยและเงินปันผล

21.5 ค่าเช่า

21.6 ค่าวิชาชีพอิสระ

21.7 ค่ารับเหมา

21.8 อื่น ๆ

22. การคำนวณภาษีมี 2 แบบ คำนวณแบบไหนแล้วมีเงินภาษีที่ต้องจ่ายมากกว่าจะใช้แบบนั้น

22.1 วิธีเงินได้สุทธิ ใช้กับเงินได้ทุกประเภท

22.8 วิธีเงินได้พึงประเมิน ใช้กับเงินได้ประเภทที่ 2–8 เท่านั้น

23. เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน — ค่าใช้จ่าย — ค่าลดหย่อน

24. นำเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายตามอัตราที่กำหนด เช่น เงินได้สุทธิ 180,000 บาท จะแยกเป็น ขั้นแรก 150,000 บาทแรกได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสีย ที่เหลืออีก 30,000 บาท อยู่ในขั้นที่สอง เสียภาษีร้อยละ 5 คิดเป็นภาษี = 1,500 บาท

25. สำหรับผู้ที่มีรายได้ทางอื่นนอกจากเงินเดือน จะมีวิธีคำนวณอีกแบบนึงมาเปรียบเทียบ คือ วิธีเงินได้พึงประเมิน โดยภาษีจากวิธีนี้จะใช้เงินได้พึงประเมิน x 0.5%

26. วางแผนประหยัดภาษี ด้วยการ

26.1 ลดรายได้ เช่น การตั้งบริษัท หรือ จดทะเบียนนิติบุคคลมากระจายการรับรายได้ จะทำให้อัตราภาษีต่ำลง

26.2 เพิ่มรายจ่าย คือ การเลือกประเภทของเงินได้ให้เหมาะสม ที่จะทำให้เพิ่มสิทธิ์ในการหักค่าใช้จ่ายได้สูงขึ้น

26.3 เพิ่มค่าลดหย่อน ใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

27. วางเป้าหมายเกษียณ มี 2 แบบ

27.1 เกษียณเร็ว คือ มีอิสระทางการเงิน

27.2 เกษียณรวย คือ มีเงินเพียงพอใช้จ่ายหลังเกษียณ

28. คำนวณทุนเกษียณที่ต้องการ

28.1 ประเมินรายจ่ายหลังเกษียณ

28.2 ปรับทุนเกษียณต่อเดือนด้วยผลกระทบจากเงินเฟ้อ

29. ประเมินแหล่งรายได้หลังเกษียณ เช่น บำนาญ / เงินประกันสังคม เป็นข้อมูลในการวางแผนออมและลงทุน เพื่อเติมทุนเกษียณส่วนที่ขาด

30. ปัจจัยสำคัญต่อการลงทุนเพื่อสร้างแผนเกษียณ

30.1 เงินออมลงทุนสม่ำเสมอ

30.2 ผลตอบแทนจากการลงทุนที่จะได้รับ

30.3 ระยะเวลาในการลงทุน

Wednesday, February 10, 2021

(ตอนที่ 2) สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

 

ความเดิมตอนที่แล้ว : ตอนที่ 1 (ข้อสรุป 1–10)

หน้าปกหนังสือ Money 101

สั่งซื้อได้ที่ SE-ED


11. เริ่มต้นเป้าหมายแรกของการออมด้วย "เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน" ควรมี 6 - 12 เท่าของรายจ่ายรวมต่อเดือน
12. เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน ต้องเก็บในที่ที่มีสภาพคล่องสูง มูลค่าไม่ผันผวน เช่น เงินฝาก กองทุนตลาดเงิน สลากออมสิน/ธกส. เป็นต้น
13. หนี้สินแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หนี้จน กับ หนี้รวย
13.1 หนี้จน คือ หนี้ที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม (กระแสเงินสดเป็นลบ) เช่น หนี้ที่เกิดจากการซื้อรถ
13.2 หนี้รวย คือ หนี้ที่สร้างรายได้เพิ่ม เช่น หนี้ที่เกิดจากการกู้ไปซื้ออสังหาแล้วปล่อยให้เช่าได้รายได้สูงกว่าดอกเบี้ย
14. สาเหตุของการเกิดหนี้ ได้แก่
14.1. ใช้จ่ายเกินตัว
14.2. อุปถัมภ์เกินกำลัง
14.3. การลงทุนที่ผิดพลาด
15. เวลาจะใช้เงินซื้อของที่มีราคาสูงต้องมีแผน ควรพิจารณา
15.1. ความจำเป็นในการซื้อและความเหมาะสม และ
15.2. สภาพคล่องหลังการซื้อหรือเป็นเจ้าของ
16. ความเสี่ยงทางการเงิน มี 3 รูปแบบ
16.1. ความเสี่ยงต่อบุคคล (ความสามารถในการหารายได้)
16.2. ความเสี่ยงต่อทรัพย์สิน (ทรัพย์สินเสียหาย/ด้อยค่า)
16.3. ความเสี่ยงต่อกับรับผิด เช่น ค้ำประกันให้คนอื่น / รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
17. การรับมือกับความเสี่ยงมี 4 วิธี
17.1 หลีกเลี่ยงความเสี่ยง = หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดเหตุร้าย
17.2 ควบคุมความเสี่ยง = ลดโอกาสในการเกิดเหตุร้าย
17.3 โอนความเสี่ยง = ประกันชีวิต / ประกันภัย / ประกันสุขภาพ
17.4 รับความเสี่ยงไว้เอง = เตรียมทรัพย์สินให้พอรองรับความเสี่ยง
18. ทุนประกันชีวิตที่จำเป็น = (ภาระหนี้สิน + มรดก) - (ทรัพย์สินที่มี+ทุนประกันชีวิตที่มี)
19. ประกันชีวิตมีหลายแบบ ดังนี้
19.1 แบบตลอดชีพ - เหมาะสำหรับเตรียมเป็นมรดก คุ้มครองยาว เบี้ยประกันถูก
19.2 แบบสะสมทรัพย์ - เหมาะสำหรับการออม ระยะเวลาคุ้มครองไม่ยาวมาก เบี้ยประกันแพงเมื่อเทียบกับความคุ้มครอง
19.3 แบบช่วงระยะเวลา - คุ้มครองระยะสั้น ไม่มีมูลค่าเงินสด ครบกำหนดไม่ได้เงินคืน แต่เบี้ยประกันถูกที่สุด
19.4 แบบประกันควบการลงทุน - มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นด้วย เป็นการเอาเงินประกันบางส่วนไปลงทุน สามารถปรับเปลี่ยนแผนการลงทุน/คุ้มครองความเสี่ยงได้ มีความยืดหยุ่นกว่าแบบประกันอื่น ๆ
20. นอกจากประกันชีวิตก็มีประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ ควรพิจารณาเรื่องสิทธิและสวัสดิการที่เรามี กับค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงของเราให้เหมาะสม


Tuesday, February 9, 2021

(ตอนที่ 1) สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

หนังสือ : Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

ผู้แต่ง : จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Image for post
ปกหนังสือ Money 101

สั่งซื้อได้ที่ SE-ED

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. คนเรามักจะต้องเจอจุดเปลี่ยนของชีวิตที่ทำให้เราต้องเข้าสู่โลกการเงิน — ส่วนใหญ่ก็คือเราทุกคนต้องเจอปัญหาทางการเงินนั่นเอง
  2. ปัญหาเรื่องเงินไม่ได้แก้ด้วยเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ต้องใช้ความรู้ทางการเงินด้วย
  3. เรื่องการเงินเป็น “ทักษะชีวิต” ที่สำคัญ เพราะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต — ทั้งชีวิตเราและคนในครอบครัว
  4. ให้ตั้งเป้าหมายชีวิตก่อนตั้งเป้าหมายทางการเงิน

4.1 ตั้งเป้าหมายชีวิต เพื่อรู้ว่าเราต้องการอะไร

4.2 ตั้งเป้าหมายการเงิน เพื่อรู้ว่าสิ่งที่เราต้องการนั้นต้องการใช้เงินสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน

4.3 เรียนรู้และลงมือทำ เพื่อให้รู้ว่าเราจะต้องรู้อะไร และจะต้องทำอะไรบ้าง

5. สองคำศัพท์สำคัญในโลกการเงิน คือ “สภาพคล่อง” และ “ความมั่งคั่ง

5.1 สภาพคล่อง คือ มีกิน มีใช้ มีเหลือเก็บ

5.2 ความมั่งคั่ง คือ สภาพคล่องที่สะสมในทรัพย์สินรูปแบบต่าง ๆ

6. โจทย์แรกในเรื่องการเงิน คือ บริหารสภาพคล่องในแต่ละเดือนให้เป็นบวก

7. สมการการเงินเปลี่ยน Mindset (กรอบความคิด) คือ

รายได้ — เงินออม =เงินสำหรับใช้จ่าย

คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า รายได้ หักค่าใช้จ่าย เหลือแล้วค่อยออม ซึ่งในความเป็นจริงมันมักจะไม่เหลือ

8. เทคนิคการออมเงิน

8.1 หักออมก่อนใช้จ่ายแบบอัตโนมัติ — ตัดบัญชีอัตโนมัติเป็นประจำทุกเดือน

8.2 ออมแบบเก็บเล็กผสมน้อย เช่น สะสมเศษเหรียญ หรือ แบงค์ 50 ที่ได้รับมา

8.3 ออมด้วยการหักภาษีฟุ่มเฟือย เช่น หักเงิน 10% ของราคากาแฟ 150 บาท ทุกครั้งที่เราซื้อกาแฟ จะช่วยให้เราใช้จ่ายอย่างมีสติมากขึ้น

9. งบการเงินส่วนบุคคล เป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกความแข็งแรงทางการเงินของเรา ประกอบด้วย

9.1 งบรายรับ-รายจ่าย จะช่วยบอกสภาพคล่องของเรา ทำได้ด้วยการบันทึกข้อมูลรายรับ เงินออม รายจ่าย และเงินคงเหลือ ในแต่ละเดือน

9.2 งบแดงสถานะการเงิน คือ การบันทึกข้อมูลรายการทรัพย์สิน และ หนี้สินทั้งหมดที่มี ควรจะทำปีละครั้ง

10 ตัวเลขทางการเงินที่ควรตรวจสอบ (ตรวจสุขภาพทางการเงิน)

10.1 ร้อยละของการออม = (เงินออมและลงทุนรายเดือนx100)/รายได้รวมทั้งเดือน — ตัวเลขนี้ควรจะไม่น้อยกว่า 10%

10.2 ร้อยละของหนี้สินที่ต้องชำระ = (เงินผ่อนชำระหนี้รายเดือนx100/รายได้รวมทั้งเดือน) — ตัวนี้นี้ควรจะไม่เกิน 50%

10.3 ความมั่งคั่ง = ทรัพย์สินรวม-หนี้สินรวม — ตัวเลขนี้ควรจะเป็นบวก