ความเดิมตอนที่แล้ว:
สั่งซื้อได้ที่ SE-ED
21. เมื่อมีรายได้ต้องยื่นภาษี ซึ่งตามกฎหมายแบ่งรายได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่
21.1 เงินเดือน/โบนัส
21.2 ค่าจ้างทั่วไป
21.3 ค่าลิขสิทธิ์
21.4 ดอกเบี้ยและเงินปันผล
21.5 ค่าเช่า
21.6 ค่าวิชาชีพอิสระ
21.7 ค่ารับเหมา
21.8 อื่น ๆ
22. การคำนวณภาษีมี 2 แบบ คำนวณแบบไหนแล้วมีเงินภาษีที่ต้องจ่ายมากกว่าจะใช้แบบนั้น
22.1 วิธีเงินได้สุทธิ ใช้กับเงินได้ทุกประเภท
22.8 วิธีเงินได้พึงประเมิน ใช้กับเงินได้ประเภทที่ 2–8 เท่านั้น
23. เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน — ค่าใช้จ่าย — ค่าลดหย่อน
24. นำเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายตามอัตราที่กำหนด เช่น เงินได้สุทธิ 180,000 บาท จะแยกเป็น ขั้นแรก 150,000 บาทแรกได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสีย ที่เหลืออีก 30,000 บาท อยู่ในขั้นที่สอง เสียภาษีร้อยละ 5 คิดเป็นภาษี = 1,500 บาท
25. สำหรับผู้ที่มีรายได้ทางอื่นนอกจากเงินเดือน จะมีวิธีคำนวณอีกแบบนึงมาเปรียบเทียบ คือ วิธีเงินได้พึงประเมิน โดยภาษีจากวิธีนี้จะใช้เงินได้พึงประเมิน x 0.5%
26. วางแผนประหยัดภาษี ด้วยการ
26.1 ลดรายได้ เช่น การตั้งบริษัท หรือ จดทะเบียนนิติบุคคลมากระจายการรับรายได้ จะทำให้อัตราภาษีต่ำลง
26.2 เพิ่มรายจ่าย คือ การเลือกประเภทของเงินได้ให้เหมาะสม ที่จะทำให้เพิ่มสิทธิ์ในการหักค่าใช้จ่ายได้สูงขึ้น
26.3 เพิ่มค่าลดหย่อน ใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
27. วางเป้าหมายเกษียณ มี 2 แบบ
27.1 เกษียณเร็ว คือ มีอิสระทางการเงิน
27.2 เกษียณรวย คือ มีเงินเพียงพอใช้จ่ายหลังเกษียณ
28. คำนวณทุนเกษียณที่ต้องการ
28.1 ประเมินรายจ่ายหลังเกษียณ
28.2 ปรับทุนเกษียณต่อเดือนด้วยผลกระทบจากเงินเฟ้อ
29. ประเมินแหล่งรายได้หลังเกษียณ เช่น บำนาญ / เงินประกันสังคม เป็นข้อมูลในการวางแผนออมและลงทุน เพื่อเติมทุนเกษียณส่วนที่ขาด
30. ปัจจัยสำคัญต่อการลงทุนเพื่อสร้างแผนเกษียณ
30.1 เงินออมลงทุนสม่ำเสมอ
30.2 ผลตอบแทนจากการลงทุนที่จะได้รับ
30.3 ระยะเวลาในการลงทุน
No comments:
Post a Comment