Saturday, September 21, 2019

บันทึกการเรียน Course ThaiMOOC : CMU009 การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) บทที่ 2 ความต้องการสารสนเทศ

ความต้องการสารสนเทศ (Information Needs)

  • ความตระหนักถึงความไม่รู้ของผู้ใช้ 
  • จำเป็นต้องใช้แต่สารสนเทศที่มีอยู่ไม่เพียงพอ
ระดับความต้องการ
  • ระดับที่ 1: ความต้องการใช้สารสนเทศในเรื่องทั่วไป
  • ระดับที่ 2: ความต้องการสารสนเทศใหม่/ทันสมัย เฉพาะเรื่องที่สนใจ
  • ระดับที่ 3: ความต้องการสารสนเทศที่ลึกซึ่ง เพื่อการศึกษา/ประกอบอาชีพ

ความต้องการสารสนเทศ =>  พฤติกรรมสารสนเทศ

  • พฤติกรรมสารสนเทศ (Information behavior)
    • พฤติกรรมมนุษย์ที่มีความสัมพันธ์กับแหล่งสารสนเทศช่องทางการสื่อสารเพื่อตอบสนองความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างกัน
  • พฤติกรรมแสวงหาสารสนเทศ (Information seeking bebavior)
    • เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับระบบสารสนเทศที่ประมวลผลด้วยมือ เช่น หนังสือพิมพ์ ห้องสมุดเป็นต้น
  • พฤติกรรมการสืบค้นสารสนเทศ (Information searching behavior)
    • พฤติกรรมระดับจุลภาคที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์ระดับมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เช่นการใช้เมาส์คลิกลิงค์ การใช้ตรรกะบูลลีนในการสืบค้น
การกำหนดแหล่งสารสนเทศ
  1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศ
    1. ห้องสมุด
      1. ห้องสมุดโรงเรียน
      2. ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
      3. ห้องสมุดประชาชน
      4. ห้องสมุดเฉพาะ
      5. หอสมุดแห่งชาติ
    2. ศูนย์เอกสารหรือสูนย์สารสนเทศ
    3. หอจดหมายเหตุ
    4. พิพิธภัณฑ์
    5. สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์
  2. แหล่งสารสนเทศสื่อสารมวลชน
  3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล
  4. แหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ต

Thursday, September 19, 2019

บันทึกการเรียน Course ThaiMOOC : CMU009 การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) บทที่ 1 การรู้สารสนเทศ

หัวข้อประกอบด้วย

  • ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
    • ประกอบด้วยทักษะ 3 ด้าน
      • ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innocation Skills)
        • การสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
        • ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)
        • การสื่อสารและความร่วมมือในการทำงาน (Communication and Collaboration)
      • ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และ เทคโนโลยี (Information, Media, and technology literacy)
        • ความรู้พื้นฐานด้านการรู้สารสนเทศ (Information literacy)
        • ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ (Media literacy)
        • ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT literacy)
      • ทักษะชีวิตและการทำงาน (Life and Career Skills)
        • ทักษะการปรับตัว (Flexibility)
        • ความสามารถในการคิดริเริ่ม (Initiative)
        • ทักษะทางสังคมและการเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม (Social and cultural awareness)
        • ความพยายาม ความน่าเชื่อถือ (Persistance/Reliable)
        • ภาวะผู้นำ และ ความรับผิดชอบ
  • ความหมายและความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
    • การรู้สารสนเทศ (Information literacy) (ACRL, 2000) คือ ทักษะในการระบุความต้องการสารสนเทศ การกำหนดแหล่งสารสนเทศ การประเมินและการใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ รู้วิธีค้นหาและการใช้สารสนเทศ เพื่อใช้ในงานต่าง ๆ ได้ตามประสงค์
    • ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ มีความสำคัญต่อด้านต่าง ๆ
      • การดำรงชีวิตประจำวัน
      • การศึกษา
      • การประกอบอาชีพ
      • การมีสารสนเทศจำนวนมาก (Data smog) 
  • ทักษะการรู้สารสนเทศ
    • กำหนดชนิดและขอบเขตของสารสนเทศที่ตนเองต้องการ
    • เข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    • ประเมินสารสนเทศและแหล่งที่มาอย่างมีวิจารณญาณ
    • สามารถใช้สารสนเทศที่ได้ในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
    • มีความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจ กฎหมายและประเด็นของสังคมเกี่ยวกับการใช้และการเข้าถึงสารสนเทศ รวมถึงการใช้สารสนเทศอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมและกฎหมาย
  • องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ 3 ส่วน (Bundy, )
    • ทักษะทั่วไป (Generic skills)
    • ทักษะด้านสารสนเทศ (Information skills)
    • ค่านิยมและความเชื่อ (Values and beliefs)